PALO IT Blog

อะไรคือ Distributed Web และทำไมเราจึงต้องให้ความสนใจสิ่งนี้?

Written by Yudesh Soobrayan | 27/02/23

Distributed web หรือที่เราเรียกว่า Web3 คือขอบข่ายหัวข้อที่นักพัฒนาและนักธุรกิจให้ความสนใจกันมากขึ้น แนวคิดเบื้องหลังนี้คือการแบ่งแยกอินเทอร์เน็ตออก โดยไม่ให้เหลือ entity ใดๆ เลยเป็นหน่วยเดียว และไม่มีใครที่จะเป็นผู้ควบคุมข้อมูลทั้งหมดบนอินเทอร์เน็ตได้เลย

ในระบบที่จัดการแบบรวมศูนย์ สารสนเทศทั้งหมดจะถูกเก็บไว้ในพื้นที่พื้นที่เดียว ตัวอย่างเช่น หากคุณซื้ออะไรบางอย่างจาก Amazon ข้อมูลของคุณทั้งหมดถูกเก็บในที่ที่เดียวและสามารถเข้าถึงได้โดย Amazon หากคุณมีชื่อที่เข้าใช้งานได้กลุ่มผู้ดูแล พวกเขาก็จะสามารถเข้าถึงข้อมูลทุกอย่างที่คุณซื้อและทุกรีวิวผลิตภัณฑ์ที่คุณเขียนไว้ เรื่องนี้เป็นปัญหา หากข้อมูลสารสนเทศเหล่านี้ถูกแฮ็คหรือขโมยไป เพราะว่ามันถูกเก็บไว้ที่เดียวกัน และไม่มีทางใดเลยที่จะเปลี่ยนแปลงได้

แต่ในระบบที่กระจาย หรือ distributed system ข้อมูลดังกล่าวจะถูกกระจายออกไปยังสถานที่ต่างๆ เพื่อไม่ให้ใครเลยเพียงคนเดียวที่จะสามารควบคุมกำกับดูแลสารสนเทศทั้งหมดได้

มีรูปแบบของ distributed systems มากมายหลากหลายประเภทตั้งแต่เทคโนโลยี blockchain technology ไปจนถึง peer-to-peer networks แต่กระนั้นทั้งหมดก็ยังมีลักษณะที่ร่วมกันบางประการได้แก่:

การควบคุมแบบกระจายส่วน (Decentralized control): ข้อมูลถูกกระจายไปข้ามทุกอุปกรณ์ที่มีอยู่หลากหลายได้ ดังนั้นจึงไม่มีอำนาจควบคุมจากส่วนกลางที่จะกำกับดูแล

การจัดเก็บข้อมูลแบบกระจาย (Distributed storage): ข้อมูลจะไม่ได้ถูกจัดเก็บในที่ที่เดียวแต่จะกระจายไปตามอุปกรณ์ต่างๆ (หรือ node ต่าง)

อัลกอริทึมที่ใช้ร่วมกัน (Consensus algorithms): การตัดสินใจเกี่ยวกับว่าจะจัดเก็บข้อมูลอย่างไรนั้นจะเป็นการตัดสินใจร่วมกัยโดยทุกๆ คนที่มีส่วนร่วมในระบบ (และไม่จำเป็นต้องตัดสินใจโดยผู้มีอำนาจควบคุมระบบทั้งระบบเพียงคนเดียว)

สำหรับภาคธุรกิจที่กำลังสำรวจว่าระบบ distributed internet systems อะไรที่ควรใช้และจะหาประโยชน์จากระบบนี้ได้อย่างไรนั้น เรามีตัวอย่างมากมายที่กำลังเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัดตลอดเวลาที่ผ่านมา

Ethereum

ระบบที่เติบโตได้อย่างรุดหน้าและก่อประโยชน์มากมายคือระบบ Ethereum ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่กระจายตัว (distributed database) ที่ใช้เทคโนโลยีของ blockchain เพื่อใช้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมระหว่างบุคคล Bitcoin ก็เป็นฐานข้อมูลแบบ distributed database ที่ใช้ bloackchain เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมระหว่างบุคคลและสินทรัพย์ต่างๆ (เช่นเงิน) 

 

Swarm

Swarm เป็นระบบจัดเก็บไฟล์ประเภท distributed file storage system ที่ใช้ blockchain technology เพื่อจัดเก็บไฟล์ในคอมพิวเตอร์ต่างๆ ทั่วโลก (แทนที่จะเก็บไว้ที่เครื่องเครื่องเดียว) IPFS ก็เป็น file storage system อีกประเภทหนึ่งที่ทำหน้าที่คล้ายคลึงกัน 

 

 

Mastodon and Fediverse

Mastodon and Fediverse เป็นอีกตัวอย่างของการใช้ระบบ distributed social networks หรือการใช้ social platform ที่มีวัตถุประสงค์แบบทั่วไปที่ช่วยให้ user สามารถโพสเนื้อหาและปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ ได้ Peertube and DTube ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของ distributed videos platforms ที่ user สามารถอัปโหลดวิดีโอต่างๆ ที่ถูกเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองและแชร์ผ่านเทคโนโลยีแบบ peer-to-peer

 

OpenBazaar

Distributed marketplaces เป็นสิ่งที่ใช้เรียก OpenBazaar ซึ่งช่วยให้ผู้ขายและผู้ซื้อสามารถเชื่อมต่อกันได้โดยตรงโดยไม่ผ่านคนกลาง (middleman) ที่ต้องดูแลกระบวนการขายระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ สิ่งนี้ทำให้ง่ายมากขึ้นสำหรับลูกค้าที่จะซื้อสินค้าที่พวกเขาชอบในราคาที่ได้มาแบบต่ำกว่าในขณะที่ศิลปินเองก็มีอำนาจในการควบคุมผลงานและกำไรของตนเองได้ 

ตัวอย่างที่ว่ามาเหล่านี้นั้นทำให้เกิดโอกาสเพราะว่าพวกมันเองมอบปประโยชน์ในแบบที่ระบบ centralized systems ไม่สามารถมอบให้ได้ ประโยชน์ที่ว่านี้ได้แก่:

  • ความเป็นส่วนตัวที่เพิ่มขึ้น: หากคุณใช้ centralized service เพื่อเข้าถึงเว็บแล้ว ทุกอย่างที่คุณกระทำบน service นั้นจะสามารถติดตามได้และได้รับการเก็บบันทึกลงใน log โดยบริษัทที่เป็นเจ้าของระบบ หรืออีกนัยหนึ่งพวกเขารู้ว่าคุณเข้าชมเว็บไซต์อะไรบ้าง และรู้ว่าเนื้อหาอะไรที่คุณใช้และแม้แต่แอพอะไรบ้างที่คุณใช้งาน ระบบ distributed networks นั้นไม่มีจุดรวมศูนย์ หรือ centralized point of failure เลย ดังนั้นจึงไม่มีตัวตนใดที่เข้าถึงข้อมูลทั้งหมดของคุณได้เลย ระบบ decentralized network ยังทำให้ผู้โจมตีมีความยากลำบากมากขึ้นในความพยายามจะเข้าถึงข้อมูลของคุณ
  • ความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น: ระบบ decentralized network นั้นยังทำให้แฮคเกอร์นั้นมีความยากลำบากในการเข้าถึงเครือข่าย เนื่องจากไม่มี single points of failure หรือ control ให้เข้าถึงได้เลย เนื่องจากไม่มี central servers ให้เป็นเป็นหมายของ malware หรือ DDoS attack ได้ นอกจากนี้ยังทำให้ user และธุรกิจมีความง่ายขึ้นในการป้องกันข้อมูลของตนเองเนื่องจากพวกเขาไม่จำเป็นต้องพึ่งพา third party ให้ช่วยเก็บข้อมูลให้ปลอดภัยจากแฮ็คเกอร์และภัยคุกคามอื่นๆ
  • การรับมือกับการเซนเซอร์ (censorship) และการควบคุมของภาครัฐ แรกเริ่มแล้ว อินเทอร์เน็ตนั้นถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เป็น decentralized network เพื่อไม่ให้ใครสามารถจะเข้าก่อกวนให้ดาวน์ลงหรือบล็อกการเข้าถึงยังเว็บไซต์ หรือ service ต่างๆ เนื่องด้วยภาครัฐทั่วโลกยังคงพยายามที่จะหยุดผู้คนและธุรกิจจากการเข้าถึงเนื้อหาออนไลน์บางประเภทหรือระบบ distributed networks บางระบบอยู่

Distributed web จะยังคงเติบโตต่อไปพร้อมความหลากหลายตามในขณะที่โลกได้มองเห็นถึงความน่าสนใจและการลงทุนที่หลั่งไหลเข้าสู่วงการนี้อย่างต่อเนื่อง บางทีปีนี้ ธุรกิจต่างๆ อาจจะพบกับการเปลี่ยนแปลงใหม่ จากโลกแห่ง Internet of Things มาเป็น Internet of People ซึ่งอินเทอร์เน็ตนั้นลดความเป็น virtual ลงและมีความเป็น physical มากขึ้น และมีความหมายมากขึ้น ไม่ว่าคุณจะมองไปที่เรื่องนี้ในมุมมองใด ก็นับว่าเป็นเวลาที่เหมาะเจาะแล้วที่จะเริ่มสร้างและสำรวจมัน

หากคุณสนใจที่จะสำรวจ distributed web สำหรับธุรกิจของคุณ โปรดแชทหาเราได้ตลอดเวลา